เคล็ดลับ การเรียนเก่ง
1.คุมเวลาตื่นนอนให้ได้ทุกวันก่อนครับ.
เช่น ตื่น 6 โมงเช้านอน 4 ทุ่ม ซัก 1 เดือนติดต่อกัน
ให้ได้ก่อนค่อยมาว่าจะอ่านหนังสือครับ.
เพราะจะเป็นการจัดระบบมันสมองใด้อย่างดีเยี่ยม
และจะรู้สึกว่าสมองมีพลังในการรับรู้ครับ.
ถ้าทำข้อนี้ไม่ได้ อย่าคิดว่าจะเรียนให้ดีได้ยากครับ.
2.หลักการอ่านหนังสือใด ๆ ไม่จำเป็นต้องอ่านทีละนาน ๆ คะ
เช่นตั้งไว้ว่า วันนึง เราจะ อ่านซัก 1 - 2 ชม.ก็เกินพอครับ.
แต่สำคัญอยู่ที่ความต่อเนื่องครับ. ถ้ายังบังคับตัวเองไม่อยู่ ข้อ 1. ก็เป็นการฝึกบังคับอย่างนึงแล้ว
ต้องอ่านทุกวัน ไม่มีวันหยุดครับ.
3.ที่ว่า 1 -2 ชม.นั้นต้องรู้ว่าตัวเองเราสามารถรับได้ครั้งละเท่าไรครับ.
อย่างเช่นพี่จะ อ่านวันละ 2 ชม. แต่แบ่ง เป็น 4 ยกครับ. ครั้งละ 25 - 30 นาที
และพัก 5- 10 นาที
4.อ่านจบวันนึง ๆ ต้องมีสรุปแบบเล่มยาว ๆ เลยนะครับ.
สรุปสั้น ๆ ว่าวันนี้ได้อะไรบ้าง สูตรอะไร ๆ หรือความเข้าใจอะไร
5.ถึงงตอนนอนให้นั่งสมาธิซัก 5 นาทีพอรู้สึกใจเริ่มนิ่ง ให้นึกที่เราสรุปไว้ เมื่อกี๊ครับ.
ถ้านึกไม่ออกแสดงว่าสมาธิตอนอ่านหนังสือไม่ด ี
ให้เปิดไฟ ลุกออกไปดูที่สรุปใหม่ แล้วนึกใหม่ครับ.
6.ต้องรู้วิธีเรียนในแต่ละวิชาครับ.
เช่น คณิต + ฟิสิกส์ เน้นความเข้าใจเป็นอันดับ 1
เคมี เน้น เข้าใจ + ท่องจำบางอย่าง เช่น ตารางธาตุ ถ้าท่องยังไม่ได้แสดงว่าไม่เข้าใจว่ามันจำเป็นต้องจำ
อังกฤษ เป็นเรื่องทักษะ ต้องใช้บ่อย ๆ ครับ.
เวลาจะทำอะไรก็นึกเป็นภาษาอังกฤษบ้าง
เช่นนึกจะทักเพื่อนว่าไปไหน ก็นึกว่า
where do you go .? อะไรเป็นต้น
แล้วก็ต้องเข้าใจ เป็นภาษาต่างด้าวยังมีคำหรือสำนวนที่เราไม่เข้าใจอีกเยอะ
ดังนั้นเรื่องศัพท์ต้องรู้เยอะ ๆ เวลาจะไปดูหนัง Entertain กันทั้งที
ก็เลือกดูเรื่องที่เขามีแต่ sub title เป็นภาษาอังกฤษ
7.วิธีเรียนพวกวิชาที่ใช้ความเข้าใจ
อันดับแรกต้องรีบศึกษาเนื้อหาทั้งหมดให้จบอย่างรวดเร็วครับ.
ถามว่าอ่านจากไหน อย่ามองไกลครับ.
แบบเรียนนั่นล่ะ อย่าเพิ่งไปมองพวกคู่มือ
ถ้าเราอ่านแบบเรียนไม่รู้เรื่อง ก็อย่าไปหวังจะดูตำราอื่นเลยครับ.
จากนั้นให้รีบหา แบบฝึกหัด มาทำในแบบเรียนนั่นล่ะให้ได้หมดก่อน
จากนั้นค่อย เสาะหาตำราคู่มือที่คิดว่าเราดี อ่านแล้วเข้าใจอีกซักเล่มนึงมา
อ่านเนื้อหาให้หมด อีกที แล้วทำแบบฝึกหัดในเล่มนั้นให้จบหมด .
สำคัญคือความตั้งใจนะครับ.
ต้องเข้าใจว่าเรา มีความรู้ในบทนั้น ๆ จบแล้ว
ทำไมยังทำโจทย์บางข้อไม่ได้ พยายามคิด
สุดท้ายไม่ออก ก็ดูเฉลย แล้วต้องตอบตัวเอง
ให้ได้ว่าเราโง่ตรงไหน ทำไมทำไม่ได้
โจทย์ข้อนั้น ๆ เป็นเทคนิคเฉพาะหรือเปล่า
ต่อไป ก็เสาะหาพวกข้อสอบต่าง ๆ มาให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้ว ก็ ทำ ๆ ๆ จนเกิดรู้สึกว่า
บรรลุ !!! ในเรื่องนั้น ๆ มันเป็นความรู้สึกคล้าย ๆ สำเร็จเป็นผู้วิเศษอะไรทำนองนั้น หรือฝึกวิทยายุทธสำเร็จแบบนั้น
มองโจทย์ปุ๊บ จะเกิดความคิด แปร๊บ ๆ ขึ้นมานึกออกทะลุหมด
เมื่อนั้นรู้สึกแบบนี้เมื่อไร ให้รีบสรุปเนื้อหาบทนั้น ๆ ออกมา
ในกระดาษขนาดประมาณ 2.5 นิ้ว คูณ 4 - 5 นิ้วครับ.
ใช้หน้าหลังเขียนให้พอให้ได้ใน 1 บทต่อ 1 แผ่น อาจจะมียกเว้นบางบท
เช่น สถิติ อาจใช้ถึง 6 แผ่น หรือตรีโกณ 3 แผ่น ส่วนใหญ่ไม่เกินหรอกครับ.
จากนั้นปาตำราบทนั้น ๆ ทิ้งไปเลยครับ
8.สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำอะไรก็ตามที่
คือ ต้องมีความรู้ติดสมอง สามารถหยิบมาใช้การได้ทันทีครับ. ถ้าคิดจะเรียนเพื่อสอบนั่นก็แสดงว่า
กำลังคิดผิดอย่างใหญ่หลวงครับ. เด็กสมัยใหมนี้ชอบคิดว่าเรียน ๆ ไปเพื่อสอบ สอบเสร็จก็เลิก
นั่นเป็นเพราะผลพวงของระบบ แข่งในการศึกษาของไทยเราครับ. เด็กต้องสอบ Entrance เข้าต่อ
ทำให้ไม่เกิดความรู้สึกในการใฝ่รู้
ต้องเข้าใจว่าเราเรียนหนังสือนี่ ต้องถือว่าไม่มีใครมาบังคับเรา
เราเรียนเพื่อตัวเราเอง เพื่อพัมนาสมองเราเอง พัฒนา มุมมองความคิดต่าง ๆ
เพื่อให้เราเป็นยอดคนเอง สามารถที่จะพึ่งตัวเองได้ทุกเมื่อ
ไม่ว่าจะยังอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองหรือหลุดจากอ้อมแขน บิดามารดาเมื่อไร
ต้องสามารถที่จะกล้าคิดและทำ พึ่งตัวเอง ยังชีพตัวองในสังคมนี้ได้ครับ.
ดังนั้น จากข้อ 7. เราต้องบันทึกความรู้ที่เรารู้แล้ว
ให้เป็นความรู้ยาวนานติดสมอง
โดยทำดังต่อไปนี้ค๊ะ
- ให้นึก ! โน๊ตย่อที่เราสรุปเอง อาทิตย์ละหน ติดต่อกัน ซัก 1 เดือนหรือ 4 อาทิตย์
นึกนะครับ . ไม่ใช่เปิดดูถ้านึกไม่ออก แสดงว่าไม่ได้สรุปเองแล้วล่ะเปิดหนังสือ แล้วสรุปตามแหง ๆ
จากนั้นให้ทิ้งห่างเป็น นึก 1 เดือนต่อครั้ง
จนเริ่มรู้สึกเบื่อ เพราะนึกทะลุปรุโปร่งหมดแล้ว
ให้เลิกครับ. ใกล้สอบค่อยว่ากันอีกที
กระบวนการที่ว่านึกตั้งแต่ 1 อาทิตยืจนเลิกนึกนี่
คาดว่าไม่ตำกว่า 3 เดือนนะครับ.
ใครน้อยกว่านี้ แสดงว่าโกหกตัวเองชัวร์
9.กระบวนการสุดท้าย เป็นการเพิ่มพลังความมั่นใจในตัวเองซึ่งต้องกระทำติดต่อกันบ่อยๆ เรื่อยๆ คือกระบวนการสอบแข่งขันครับ.ตรงนี้สำคัญมาก ถ้าเป็นไปได้สอบแข่งซะแต่
ม.1 จนจบ ม.6 เลย จะทำให้เรารู้อันดับตัวเอง
เมื่อเทียบกับคนอื่น ๆ ครับ. เช่นเราอาจจะเรียนได้เกรดดี แต่พอสอบแข่ง จริง ๆล่ะ สู้เขาได้ใหม
ทักษะในการทำข้อสอบ มีใหม
เข้าห้องก็เดินหน้าลุยทำแต่ข้อแรกยันข้อสุดท้ายเลยหรือเปล่า
ก็พวก สมาคม โอลิมปิก หรืออะไรก็ตามที ทั้งสอบแข่งในโรงเรียน
เช่น โรงเรียนจัดเอง หรือสัปดาห์ต่าง เช่น สัปดาห์วันวิทยาศาสตร์
ภาษาอังกฤษ โคงงงานวิทยาศาตร์ ตอบปัญหาภาษาไทย อังกฤษ ฯลฯ
สุดท้ายทั้งหมดที่ว่ามา ถ้าน้องคนไหนทำได้นะครับ. ซัก 1 - 2 ปี รู้ผลแน่
พี่รับรองได้ 100 % เลยว่าอย่างน้อยต้องอยู่ในอันดับ 1 - 3 ของชั้น
แน่นอน อันดับระดับประเทศ ก็ไม่เกิน 50 อย่างมาก
อ้อ ลืมบอกไปครับ. สิ่งสำคัญคือการอ่านล่วงหน้าครับ.
ช่วงปิดเทอม ก็อ่านของเทอมหน้านู้นหรือ อยู่ ม.4 จะอ่านของ ม.6 ก็ได้นะไม่ผิด
ภาพแต่งละฉาก
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554
เพลงนุดีฟังแล้วไม่รู้สึกท้อแท้
ตั้งแต่วันนั้นจนวันทุกอย่างยังเหมือนเดิม
ขอบคุณที่ทำให้นุดีได้มีวันนี้
ขอบคุณที่ทำให้นุดีได้มีวันนี้
เพลงที่ชอบเกี่ยวกับครู (พระคุณที่สาม)
เปรียบเรือจ้างอย่าน้อยใจจงได้คิด ไม่มีศิษย์ใครจะรู้ครูมีค่า
ไม่มีครูใครจะสร้างทางปํญญา ศิษย์แจวหน้าครูแจวหลังสู้ฝั่งชัย
ครูแม่พิมพ์ของชาติ
คุณธรรมครูไทย
คำว่า "ครู" หมายถึงผู้สั่งสอน อบรม บ่มนิสัย และถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ครู คือบุคคลที่ควรเคารพ เพราะคำว่าครู แปลว่า หนัก มีบุญคุณ มีคุณค่า มีความหมาย ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 มีข้อความที่แสดงความหมายของคำว่าครู ในทางเป็นผู้สั่งสอน ให้รู้บาปบุญคุณโทษ และให้ทำความดี เพราะเริ่มมีคำว่า "ปู่ครูนิสัยมุติ" คำนี้ ปรากฏขึ้นในหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 ก็มีคำว่าครู แล้วต่อมาก็มีคำว่า "ครูตุ๊เจ้า" "ตุ๊ครู" "ปู่ครู" และ "ครูบา" คำว่าครูมีความหมายลึกซึ้งมาก ในหลักศิลาจารึก หรือในเตภูมิกถา ซึ่งเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์โบราณคดีของไทย ตรงกับคำอธิบายของพระธรรมโกศาจารย์ (ท่านพุทธทาส) ที่กล่าวว่า คำว่าครู แต่เดิมหมายถึงผู้นำทางวิญญาณ ต่อเมื่อถูกยืมมาใช้ในภาษาไทย ครูจึงเป็นความหมายเป็นสอนหนังสือ สอนวิชาชีพ โดยเนื้อแท้ดั้งเดิม เป็นผู้นำทางวิญญาณ ครูจึงมีความหมายสำคัญ อยู่ที่ว่ายกฐานะทางวิญญาณ ให้สูงขึ้น นั่นคือประกอบอยู่ด้วยธรรมะ ครูคือผู้ยกวิญญาณโลก ครูแท้ๆ ในสมัยโบราณ ทำหน้าที่ยกวิญญาณของมนุษย์ด้วยการเสียสละ เพื่อทำตนให้เป็นครูอุดมคติ ด้วยการมีธรรมะ ประยุกต์ธรรมให้เข้ากับความเป็นครู
ครูคือใคร ครูเป็นภาษาบาลีและสันสกฤตและตามตัวว่าหนัก คือ อยู่บนศีรษะของคนทุกคนในโลก เพราะครูเป็นมัคคุเทศก์ทางวิญญาณ หรือเป็นผู้นำทางวิญญาณ หมายถึงผู้ที่ยกสถานะทางวิญญาณของคนให้สูงขึ้น เดิมวิญญาณของมนุษย์ถูกปิดอยู่ ครูเป็นผู้เปิดประตูวิญญาณให้เกิดแสงสว่าง คือ ให้คนสามารถเอาชนะกิเลส หรือ รอดพ้นจากความทุกข์ และจุดมุ่งหมายขั้นสุดท้ายของครู คือ มุ่งที่จะทำให้โลกมีสันติภาพ
การศึกษาของไทยเริ่มขึ้นในวัด ครูก็คือพระสงฆ์ผู้มีความรู้ ทั้งธรรมของพุทธศาสนา อักขรวิธี และศิลปวิทยาการอื่นๆ นักเรียนก็คือลูกหลานของประชาชนทุกระดับชั้น มาสมัครเป็นลูกศิษย์อยู่ในวัด ก็ย่อมศึกษาเล่าเรียนไปพร้อมทั้งปรนนิบัติรับใช้พระสงฆ์ผู้เป็นครูอาจารย์ ไปด้วย ครูคือภิกษุสงฆ์ สอนด้วยความรัก ความเมตตา ลูกศิษย์ก็ศึกษาเล่าเรียนด้วยความเคารพในครูบาอาจารย์ของตนอย่างมาก
ครูบาอาจารย์ผู้ที่เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรมแบบนี้ ไม่เคยถือโทษ โกรธเคือง อโหสิแม้ผู้ที่มาทำร้ายตน ครูจึงเป็นผู้มีกัลยาณมิตรธรรม หรือคุรุฐานิยมธรรม ผู้เป็นครูดี จะต้องยึดมั่นในคุณสมบัติของครู หรือของมิตรที่ดี มิตรแท้ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัคิ อันเป็นเหตุให้เกิดความสุข ความเจริญ ทั้งแก่ศิษย์และแก่ตัวครูเอง 7 ประการ ด้วยกัน
1. ปิโย เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เพราะครูทำให้ตน ให้เป็นที่รักของศิษย์
2. ครุ เป็นที่เคารพ เพราะมีความหนักแน่น น่าเคารพยำเกรง
3. ภาวนีโย เป็นที่สรรเสริญ เพราะฝึกฝนอบรมตน ให้เจริญด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญ
4. วัตตา เป็นผู้ว่ากล่าว มีความเพียรพร่ำสอน พร่ำเตือนศิษย์
5. วจนักขโม เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ แม้จะถูกกระทบกระทั่ง เสียดสี ลองภูมิ
6. คัมภรังกถังกัตตา เป็นผู้กล่าวถ้อยคำอันลึกซึ้ง สอนให้เข้าใจได้แจ่มแจ้ง และลุ่มลึก
7. โนจัฏฐาเน นิโยชเย พึงนำไปในฐานะที่ดี ในตำแหน่งที่ดี ไม่ชักชวนในฐานะอันไม่ควร ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางเสื่อมเสีย
ครูอาจารย์ที่มีคุรุฐานิยมธรรมะของครู 7 ประการดังกล่าวแล้ว ย่อมเป็นครูผู้ประเสริฐ และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของศิษย์ เนื่องจากสามารถอบรม ชักนำศิษย์ไปในทางดีด้วย ความรู้อันกระจ่างแจ้งของครู และด้วยคุณธรรมอันล้ำเลิศของครู จึงน่าจะสรุปลง ณ ที่นี่ว่า "ครูที่ดีและมีความสามารถ ต้องเป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม"
กฤษณา พันธุ์วานิช
กระทรวงวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม
( ที่มา มติชนรายวัน ประจำวันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)